วันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ดาวอังคาร(ดาวเคราห์แดง)

ดาวอังคาร Mars

ดาวอังคาร หรือ ดาวเคราะห์สีแดง เป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวในระบบสุริยะจักรวาลที่เคยมีความเชื่อกันว่า มีความเป็นไปได้สูงที่จะค้นพบสิ่งมีชีวิตทั้งในอดีตและอาจจะในปัจจุบันด้วย และยังเป็นทางเลือกสำหรับการสำรวจและการตั้งถิ่นฐานของมนุษยชาติในอนาคต จึงไม่น่าประหลาดใจที่ประเทศมหาอำนาจหลายประเทศในโลกส่งยานอวกาศของตนขึ้นไปสำรวจและค้นคว้าวิจัย 
                      ดาวอังคารอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 4 และมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ในระบบสุริยะจักรวาล

มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 6,794 กิโลเมตรซึ่งใหญ่กว่าครึ่งหนึ่งของโลก อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 222,000,000 ระยะเวลาในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 687 วันของเวลาโลกโดยดาวอังคารจะโคจรเป็นวงรีรอบดวงอาทิตย์ และหมุนรอบตัวเองเป็นระยะเวลา 24 ชั่วโมง 37 นาที ของเวลาโลก
ดาวอังคารมีมวล ประมาณ 6.42 x 10 23 กิโลกรัม หรือ ราว 1/9 ของมวลโลก มีความโน้มถ่วงที่พื้นผิวราว 38% ของผิวโลก ดังนั้นน้ำหนัก 60 กิโลกรัมบนโลก จะมีน้ำหนักเหลือประมาณ 22.8 กิโลกรัมบนพื้นผิวดาวอังคาร

ดาวอังคารมีอุณหภูมิเฉลี่ย -65 องศาเซลเซียส (หรือ -85 องศาฟาร์เรนท์ไฮท์) ขณะที่อุณหภูมิจริง อยู่ระหว่าง -140 ถึง +20 องศาเซลเซียส ( หรือ -220 ถึง +70 องศาฟาร์เรนท์ไฮท์ )

 ภาพแสดงการเปรียบเทียบขนาดของโลกกับดาวอังคาร
 โดยชั้นบรรยากาศของดาวอังคารประกอบด้วย Carbon Dioxide (95.3%) Nitrogen (2.7%) Argon (1.6%)Oxygen (0.15%) ไอน้ำ (0.03%) และอื่นๆ พื้นผิวดาวอังคารประกอบด้วยหินที่ประกอบด้วยโลหะจำพวกเหล็กและผงโลหะเป็นส่วนมาก จึงทำให้เมื่อมองจากโลกเห็นเป็นสีแดง  ดินของดาวอังคารที่จะเป็นองค์ประกอบที่มีฤทธิ์เป็นด่างเล็กน้อยและมีเช่น แมกนีเซียม , โซเดียม , โปแตสเซี และ คลอไรด์ . สารอาหารเหล่านี้จะพบในสวนบนโลกและเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของพืช พบว่าดินบนดาวอังคารมี พื้นฐาน ที่ pH 8.3





ดาวอังคารมีดาวบริวารหรือดวงจันทร์ขนาดเล็ก 2 ดวง คือ โฟบอสและไดมอส โดยทั้งสองดวงมีรูปร่างบิดเบี้ยวไม่เป็นรูปกลม ซึ่งคาดกันว่าอาจเป็นดาวเคราะห์น้อยที่หลงเข้ามาแล้วดาวอังคารคว้าดึงเอาไว้ให้อยู่ในเขตแรงดึงดูดของตน


บริวารของดาวอังคาร

โฟบอล และ ไดบอส บริวารทั้งสองของดาวอังคาร

***ยานอวกาศลำแรกที่ประสบความสำเร็จในการผ่านใกล้ดาวอังคาร คือ ยานมารีเนอร์ 4 ของสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 ภาพที่ถ่ายทอดกลับมาจำนวน 22 ภาพแสดงให้เห็นว่าพื้นผิวดาวอังคารมีหลุมและบ่อมากมาย ยานอวกาศมารีเนอร์อีกหลายลำต่อมา สามารถถ่ายภาพพื้นผิวรวมกันแล้วได้ครบทั่วทุกบริเวณ โดยเห็นภาพละเอียดถึง 1 กิโลเมตร ภาพถ่ายเหล่านี้ช่วยให้นักภูมิศาสตร์ทำแผนที่ของดาวอังคารได้ทั้งดวง บนพื้นผิวของดาวอังคารจึงพบการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทางธรณีวิทยา เช่น ปล่องภูเขาไฟ หุบเหวกว้างและลึกร่องที่เหมือนกับร่องน้ำที่เคยเป็นทางน้ำไหลมาก่อน

วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การแบ่งเซลล์


การแบ่งเซลล์
การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส
         เป็นการแบ่งนิวเคลียสของเซลล์ที่เจริญเป็นเซลล์สืบพันธุ์ทั้งในเซลล์พืชและเซลล์สัตว์มีการเปลี่ยนแปลง 2 ครั้ง ติดต่อกันหลังจากแบ่งเซลล์เสร็จแล้วได้เซลล์ใหม่ 4 เซลล์ แต่ละเซลล์มีโครโมโซมเพียงครึ่งหนึ่งของเซลล์แม่ โครโมโซมของเซลล์ใหม่แต่ละเซลล์จึงเป็นแฮพลอยด์ (haploid) หรือ n โครโมโซม คือมีโครโมโซมเพียงชุดเดียวเท่านั้น เป็นการแบ่งเซลล์เพื่อสร้างเซลล์สืบพันธุ์
การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสครั้งแรกและครั้งที่สอง ประกอบด้วยระยะต่างๆ ดังนี้
1.  การแบ่งไมโอซิสครั้งแรก (meiosis I) มีระยะต่างๆ ดังนี้
               ระยะอินเตอร์เฟส I (interphase I) การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระยะนี้มีการเตรียมสารต่างๆ เช่นโปรตีน เอนไซม์ เพื่อใช้ในระยะต่อไป จึงมี
เมแทบอลิซึมสูง มีนิวเคลียสใหญ่ มีการจำลองโครโมโซมใหม่แนบชิดกับโครโมโซมเดิมและเหมือนเดิมทุกประการ โครโมโซมเป็นเส้นบางยาวๆ พันกันเป็นกลุ่มร่างแห
                 ระยะโพรเฟส I (prophase I)ใช้เวลานานและซับซ้อนมากที่สุด มีเหตุการณ์ที่สำคัญ คือ
-
 โครโมโซมหดสั้นเป็นแท่งหนาขึ้น
-
 โครโมโซมคู่เหมือน (homologous chromosome) มาจับคู่กันเป็นคู่ๆ แนบชิดกันเรียก          ไซแนพซิส (synapsis) คู่ของโครโมโซมแต่ละคู่เรียก ไบวาเลนท์ (bivalant) แต่ละโครโมโซมที่เข้าคู่กัน มี 2 โครมาทิด มีเซนโทรเมียร์ยึดไว้ ดังนั้น 1 ไบวาเลนท์มี 4 โครมาทิด
             - โครมาทิดที่แนบชิดกันเกิดมีการไขว้กัน เรียก การไขว้เปลี่ยน (crossing over) ตำแหน่งที่ไขว้ทับกัน เรียกไคแอสมา (chiasma) 
             - เซนทริโอแยกไปยังขั้วเซลล์ทั้ง 2 ข้าง
             - มีเส้นใยสปินเดิล ยึดเซนโทรเมียร์ของแต่ละโครโมโซมกับขั้วเซลล์
             - โครโมโซมหดตัวสั้นและหนามากขึ้น เยื่อหุ้มนิวเคลียสและนิวคลีโอลัสค่อยๆ สลายไป
       ระยะเมทาเฟส I (mataphase I) แต่ละไบวาเลนท์ของโครโมโซ
มาเรียงอยู่กลางเซลล์ เยื่อหุ้มนิวเคลียสและนิวคลีโอลัสสลายไปหมดแล้ว
               ระยะแอนาเฟส I (anaphase I) โครโมโซมคู่เหมือนที่จับคู่กัน ถูกแรงดึงจากเส้นใยสปินเดิลให้แยกตัวออกจากกันไปยังขั้วเซลล์ที่อยู่ตรงข้าม การแยกนั้นแยกไปทั้งโครโมโซมที่มี 2  โครมาทิด และการแยกโครโมโซมนี้มีผลทำให้การสลับชิ้นส่วนของโครมาทิดตรงบริเวณที่มีการไขว้เปลี่ยนช่วยทำให้เกิดการแปรผัน (variation) ของลักษณะต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต ซึ่งมีประโยชน์ในแง่วิวัฒนาการจากการแยกกันของโครโมโซมไปยังขั้วเซลล์แต่ละข้างมีโครโมโซมเหลือเพียงครึ่งหนึ่งของเซลล์เดิม

      ระยะเทโลเฟส I (telophase I) ในระยะนี้จะมีโครโมโซม 2 กลุ่มแต่ละกลุ่มจะมีจำนวนโครโมโซมเพียงครึ่งหนึ่งของเซลล์เดิม  แต่ละเซลล์มีโครโมโซมเป็นแฮพลอยด์  
2 .ไมโอซีส ครั้งที่ 2 (meiosis II)
             ไมโอซีสครั้งที่ 2เกิดต่อเนื่องไปเลยไม่มีพักและผ่านระยะอินเทอร์เฟสไป ไม่มีการจำลอง
โครโมโซมใหม่อีก เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้
    ระยะโพรเฟส II (prophase II) แต่ละโครโมโซมในนิวเคลียส แยกเป็น 2 โครมาทิด มีเซนโทรเมียร์ยึดไว้  เซนทริโอลแยกออกไปขั้วเซลล์ทั้ง 2 ข้าง   มีเส้นใยสปินเดิลยึด        เซนโทรเมียร์กับขั้วเซลล์ เยื่อหุ้มนิวเคลียสและนิวคลีโอลัสสลายไป

     ระยะเมทาเฟส II (metaphase II) โครโมโซมทั้งหมดมารวมอยู่กลางเซลล์

      ระยะแอนาเฟส II (anaphase II) เส้นใยสปินเดิลหดตัวสั้นเข้าและดึงให้โครมาทิดของแต่ละโครโมโซมแยกออกจากกันไปขั้วเซลล์ตรงกันข้าม
    ระยะเทโลเฟส II (terophase II) เกิดนิวคลีโอลัส เยื่อหุ้มนิวเคลียสล้อมรอบ     โครมาทิดกลุ่มใหญ่ แต่ละโครมาทิดก็คือ โครโมโซม นั้นเอง เมื่อจบการแบ่งเซลล์ในระยะเทโลเฟส 2 แล้วได้เซลล์ใหม่ 4 เซลล์ แต่ละเซลล์มีโครโมโซมเป็นแฮพลอยด์

การแบ่งเซลล์แบบนี้ทำให้เกิดการเพิ่มจำนวนเซลล์ในร่างกาย (somatic cell) ทำให้สัตว์และพืชมีการเจริญเติบโต และเป็นการแบ่งเซลล์เพื่อการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศในสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและหลายเซลล์เซลล์ก่อนการแบ่งเซลล์เรียก เซลล์แม่ (mother cell) มีโครโมโซม (chromosome) เป็นดิพลอยด์ (diploid) หรือ 2n (n = ชนิดของโครโมโซม) 2n หมายความว่า มีโครโมโซมชนิดที่เหมือนกัน 2 แท่ง เช่นคนมีโครโมโซม 46 แท่ง มี 23 คู่      เมื่อเซลล์แม่แบ่งเซลล์แบบไมโทซิสแล้วได้เซลล์ลูก 2 เซลล์(daughter cell) แต่ละเซลล์มีโครโมโซม เป็น 2n   เท่ากับเซลล์แม่

 การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส มีระยะต่างๆ ดังนี้
                  1.ระยะอินเตอร์เฟส(interphase)เป็นระยะที่เซลล์มีนิวเคลียสขนาดใหญ่มีเมแทบอลิซึมสูงมีการจำลองโครโมโซมใหม่เหมือนเดิมทุกประการแนบชิดติดกับโครโมโซมเดิมเป็นเส้นบางๆมองเห็นไม่ชัดเจน

                   2. ระยะโพรเฟส (prophase) โครโมโซมหดตัวสั้นและหนาขึ้นทำให้เห็นชัดเจน โครโมโซมแตกออกจากกัน มีเซนโทรเมียร์ (centromere) หรือ คิเนโตคอร์ (kinetochore) เป็นปมเล็กๆ ยึดติดกันเอาไว้ และโครโมโซมที่แนบชิดกันเรียก โครมาทิด (chromatid) เซนทริโอลแยกจากกันไปอยู่ตรงกันข้ามหรือขั้วเซลล์ มีเส้นใยสปินเดิล (spindle fiber) ยึดที่ เซนโทเมียร์ ของโครโมโซมและขั้วเซลล์ ปลายระยะนี้เห็นโครโมโซมแยกเป็น 2 โครมาทิดอย่างชัดเจน แต่ที่เซนโทรเมียร์ยึดไว้ยังไม่หลุด จากกัน เยื่อหุ้มนิวเคลียสและนิวคลีโอลัสค่อยๆ สลายไป
                    3. ระยะเมทาเฟส (metaphase) ระยะนี้เยื่อหุ้มนิวเคลียส และนิวคลีโอลัสสลายไปหมดแล้ว โครโมโซมทั้งหมดจะมารวมเรียงตัวกันอยู่กลางเซลล์แต่ละโครโมโซมมี 2 โครมาทิด ระยะนี้เซนโทรเมียร์เริ่มแยกออกแต่ยังไม่หลุดออกจากกัน
                   4. ระยะแอนาเฟส (anaphase) เส้นใยสปินเดิลหดตัว และดึงเซนโทรเมียร์ให้โครมาทิดที่อยู่เป็นคู่แยกออกจากกันไปยังขั้วเซลล์ตรงกันข้าม
                   5. ระยะเทโลเฟส (telophase) มีกลุ่มโครมาทิดที่แยกออกจากกันแล้ว อยู่ขั้วเซลล์ทั้งสองข้างเกิดเยื่อหุ้มนิวเคลียสล้อมรอบโครมาทิดทั้ง 2 กลุ่ม และเกิดนิวคลีโอลัสใน 2 กลุ่มนั้นด้วย โครมาทิดในระยะนี้คือ โครโมโซมนั้นเอง ดังนั้นในระยะนี้แต่ละเซลล์มี 2 นิวเคลียส แต่ละนิวเคลียสมีโครโมโซม เป็น 2 n เท่าเซลล์เดิม ถือว่าเป็นการเสร็จสิ้นการแบ่งนิวเคลียส 

จากนี้ไปเป็นการแบ่งไซโทพลาซึมโดยเยื่อหุ้มเซลล์คอดตรงกลางระหว่างนิวเคลียสเมื่อเยื่อหุ้มเซลล์เคลื่อนมาพบกันแล้วจะขาดจากกันกลายเป็นเซลล์ใหม่ 2 เซลล์ ถ้าเป็นเซลล์พืชเกิดเซลล์เพลท (cell plate) ที่ตรงกลางเซลล์ระหว่างนิวเคลียสแล้วค่อยๆ ยื่นออกไปจนบรรจบกับเยื่อหุ้มเซลล์ทั้ง 2 ด้าน ในที่สุดได้เซลล์ใหม่ 2 เซลล์